เทคนิคการถ่ายวีดีโอ เบื้องต้น

cropped-9385135_orig-1.jpg

เทคนิคการถ่ายวีดีโอ เบื้องต้น

เทคนิค การถ่ายวีดีโอ ขึ้นพื้นฐาน 1
ทุก ๆวันนี้ กล้องมีราคาถูกลง และมี คุณภาพสูงยิ่งขึ้น กล้อง DSLR สามารถ ถ่ายวีดีโอได้ดี จนกระทั่ง หนังสั้นบางเรื่อง หรือแม้แต่โฆษณา หรือ MV บางชิ้น ใช้ กล้อง ถ่ายรูปนี่แหละ ในการบันทึกภาพ
ภาพที่ได้คุณภาพดี และ มีราคาถูกเมื่อเทียบ กับ กล้องวีดีโอ หรือกล้อง ถ่ายภาพยนตร์ ราคาเรือนล้าน เหมือนเมื่อก่อน
ความสำคัญของการบันทึกภาพเคลื่อไหว หรือวีดีโอ กล้องวีดีโอ มีความสำคัญ แต่เหนือสิ่งอื่นใด คนถ่ายก็คนบุคคลที่สำคัญที่สุด
สิ่งที่ขาดไม่ได้ ในการบันทึกภาพวีดีโอ คือเจ้าขาตั้งกล้องวีดีโอ Tripod หากท่านถ่ายรูป ในวันที่แสงพอเพียง ท่านไม่จำเป็นต้องถ่ายบนขาตั้ง ก็ได้ แต่สำหรับงานวีดีโอแล้ว ขาตั้งนี่แหละ เป็นอุปกรณ์ ชิ้นสำคัญ พอพอ กับ ตัวกล้องวีดีโอทีเดียว
เมื่อกล้องวีดีโอ อยู่บนขาตั้งเรียบร้อยแล้ว เรามาเรียนรู้เรื่อง การควบคุมกล้องกัน
การควบคุมกล้องและการจัดภาพ

การกำหนดการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของกล้องถ่ายโทรทัศน์ นับได้ว่าเป็นการ เปลี่ยนแปลงตำแหน่งของกล้องไปพร้อมกับการบันทึกภาพ และจะมีผลทำให้ภาพเปลี่ยนแปลงลักษณะภาพ รูปแบบ และเนื้อหาของการนำเสนอภาพไปด้วย
เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แพนซ้าย ก็แพนซ้าย แพนขวา ก็แพนขวา เราจะไม่ซูมภาพในขณะที่แพนซ้าย เด็ดขาด

การเคลื่อนไหวกล้องที่มีเหตุผล และมีความเชี่ยวชาญจะเป็นส่วนช่วยเสริมภาษาของภาพและผู้ชมเกิดบทบาท ร่วมที่เป็นจริงมากขึ้นกับการนำเสนอภาพในช่วงนั้นการเคลื่อนไหวกล้องมีหลักการขั้นพื้นฐานที่นำมาใช้ในการถ่ายภาพ 4 ประการ คือ

1. การแพน ( Pan) เป็นวิธีการเคลื่อนที่กล้องถ่ายในลักษณะการส่ายกล้องเคลื่อนที่ไปในแนวนอนหรือแนวราบ (Horizontal) อาจเริ่มจากซ้ายไปขวา (Pan Right) หรือจากขวาไปซ้าย (Pan Left) ก็ได้ วัตถุประสงค์ของการแพนกล้องอาจเกิดขึ้นได้จากวัตถุประสงค์ของการนำเสนอหลายประการ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์หรือเกิดเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ถ่ายสองสิ่งอยู่ห่างกัน หรือพื้นที่ของการถ่ายที่แยกอยู่ห่างกัน

2. การซูม (Zoon) สามารถสามารถเปลี่ยนขนาดภาพขณะกำลังบันทึกภาพโดยไม่ต้องเคลื่อนไหวกล้องหรือเปลี่ยนตำแหน่งการตั้งกล้อง ลักษณะการเปลี่ยนขนาดภาพถ้าเปลี่ยนจากภาพขนาดมุมกว้างมาเป็นมุมแคบจะเรียกว่า Zoon in ถ้าตรงข้ามกันจะเรียกว่า Zoom out ผลที่เกิดในความรู้สึกของผู้ชม คือ จะรู้สึกว่าสิ่งที่ถ่ายถูกดึงเข้ามาใกล้ตัวหรือถอยห่างออกไป เกิดกาเคลื่อนไหวขึ้นในภาพ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของภาพอย่างต่อเนื่อง

3. การทิลท์ (Tilting) เป็นการเคลื่อนไหวกล้องอีกลักษณะหนึ่ง เช่นเดียวกันกับการแพนแต่เป็นการแพนโดยวิธีการเคลื่อนกล้องในแนวดิ่ง วิธีการถ่ายภาพในแบบการทิลท์กล้องถ่ายยังคงรักษาระดับตำแหน่งความสูง – ต่ำ คงที่จะเปลี่ยนแปลงไปก็แต่เพียงมุมการบันทึกภาพเท่านั้น ที่ถูกขยับไปในองศาที่สูงขึ้นกว่าเดิม หรือองศาถูกกดต่ำกว่าเดิม ซึ่งกระทำได้โดยการกระดกกล้องถ่ายภาพขึ้นหรือค่อย ๆ กดกล้องให้มุมรับภาพลงต่ำในระหว่างการถ่ายทำถ้าหากในขณะที่ทำการถ่ายภาพผู้ถ่ายกระดกกล้องถ่ายภาพให้สูงขึ้นกว่าระดับเดิมจะโดยเหตุผลของการนำเสนอภาพเพื่อผลในการใดก็ตามดังที่กล่าวมาแล้วเรียกกันว่า ทิลท์-อัพ (Tilt-up) และในทางกลับกัน ถ้าหากกดกล้องให้มุมรับภาพค่อย ๆ เปลี่ยนในทิศทางที่ต่ำลงกว่าเดิมเรียกว่า ทิลท์-ดาวน์ (Tilt Down)

4. การดอลลี่ (Dollying) เป็นวิธีการเคลื่อนไหวกล้องในรูปแบบการตั้งอยู่บนพาหนะที่มีล้อซึ่งเคลื่อนไปมาบนพื้น หรือเลื่อนไปตามราง ทำให้สามารถเคลื่อนที่ตามภาพเหตุการณ์ได้ในมุมมองต่าง ๆ กัน เหมาะสำหรับการบันทึกภาพอย่างต่อเนื่องเป็นช๊อตยาวดอลลี่จะมีลักษณะการเคลื่อนกล้องเข้าหาสิ่งที่ถ่าย เรียกว่า ดอลลี่อิน(Dolly in) และถ้าเคลื่อนกล้องถอยห่างจากสิ่งที่ถ่าย เรียกว่า Dolly out

5. การแทคกล้อง (Trucking or Tracking) เป็นการเคลื่อนไหวของกล้องในลักษณะและวิธีการเคลื่อนไหวในรูปแบบคล้ายกับดอลลี่ แตกต่างกันในเรื่องของการกำหนดทิศทางเท่านั้น ทิศทางของการทรักต์ จะใช้การเคลื่อนกล้องในแนวทางข้างเคียงสิ่งที่ถ่าย ในบางกรณี การเคลื่อนที่ของกล้องอาจไม่เป็นแนวตรงแต่จะเคลื่อนในลักษณะเฉียงโค้ง (Curve Track) ในบางครั้งการนำเสนอภาพในรูปแบบการทรักต์จะใช้การเคลื่อนที่ตามขนานกับสิ่งที่ถ่ายอาจเป็นระดับการเคลื่อนไหวที่คู่เคียงกันไป หรือตำแหน่งของกล้องล้ำหน้า วัตถุเคลื่อนทีตามนอกจากนี้แล้วยังนำมาใช้เพื่อการเปลี่ยนตำแหน่ง และทิศทางของกล้องเพื่อกำหนดรูปแบบของการนำเสนอภาพในแนวทางใหม่ เป็นการหลีกเลี่ยงความซ้ำซากน่าเบื่อหน่ายของสิ่งที่ถ่าย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *